เตือนชาวสวน ระวัง “โรคเถาเหี่ยว” ช่วงแตงโมออกดอก

ในระยะนี้จะเข้าสู่ช่วงที่ต้นแตงโมออกดอก กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรชาวสวนแตงโมเฝ้าระวังช่วงที่มีอากาศร้อนและมีฝนตกบางพื้นที่ ให้หมั่นสังเกตอาการของโรคเถาเหี่ยว จะพบแสดงอาการเริ่มแรกใบล่างมีสีเหลือง โดยเริ่มจากใบบริเวณโคนเถาและลุกลามเหลืองต่อเนื่องไปสู่ยอดจนเหลืองทั้งต้น ต่อมาเถาแตงจะเหี่ยวและตาย บางครั้งมีรอยแตกตามยาวลำต้นบริเวณโคนเถาใกล้ผิวดิน เมื่อผ่าไส้กลางเถาดูจะเห็นภายในลำต้นเป็นสีน้ำตาล มักพบระบาดรุนแรงในพื้นที่สภาพดินเป็นกรด และในพื้นที่เดิมที่มีการปลูกแตงโมซ้ำต่อเนื่องกัน

สำหรับพื้นที่ที่พบอาการของโรคเถาเหี่ยว หลังเก็บเกี่ยวแตงโมเรียบร้อยแล้ว ให้เกษตรกรเก็บเศษซากพืชส่วนที่หลงเหลือในแปลงปลูกนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูกทันที เพื่อลดการสะสมเชื้อสาเหตุโรค และควรปลูกพืชหมุนเวียนชนิดอื่นที่ไม่ใช่พืชตระกูลแตง (แตงกวา ฟักทอง มะระ แคนตาลูป) หรือพืชในกลุ่มพริก มะเขือเทศ และมันฝรั่ง เพราะพืชกลุ่มนี้อ่อนแอต่อโรค หลีกเลี่ยงการปลูกแตงโมซ้ำที่เดิมติดต่อกันเกิน 3 ปี

นอกจากนี้ ก่อนการปลูกแตงโมในฤดูถัดไป เกษตรกรควรไถกลบหน้าดินและตากดินไว้นานกว่า 2 สัปดาห์ และควรตรวจสภาพความเป็นกรด-ด่าง ของดิน ถ้าดินมีสภาพเป็นกรดจัด ให้เกษตรกรใส่ปูนขาวปรับสภาพดิน อัตรา 100-150 กิโลกรัม ต่อไร่ จะสามารถช่วยลดปริมาณเชื้อในดินลงได้มาก อีกทั้งไม่ควรปลูกแตงโมแน่นจนเกินไป เพื่อให้ในแปลงปลูกสามารถระบายความชื้นได้ดี

เกษตรกรควรหมั่นสำรวจตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากพบการระบาดของโรค ให้เกษตรกรถอนต้นที่เป็นโรคนำออกไปเผาทำลายนอกแปลงปลูกทันที จากนั้นให้ใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชอีไตรไดอะโซล 24% อีซี อัตรา 20 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารอีไตรไดอะโซล + ควินโตซีน 6% + 24% อีซี อัตรา 30-40 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร โดยราดรดดินตรงจุดที่พบโรคในหลุมและบริเวณใกล้เคียง เพื่อป้องกันโรคระบาดไปยังต้นข้างเคียง

ราคาสินค้าเกษตรนั้นขึ้นอยู่กับกลไกของตลาด สินค้าจำนวนมาก ราคาก็ลดลง สินค้าจำนวนน้อย ราคาก็สูงขึ้น ซึ่งเป็นไปตามหลักอุปสงค์-อุปทาน

ในช่วง 4-5 ปีนี้ ต้องยอมรับว่า “มะพร้าวน้ำหอม” นั้นเป็นสินค้าเกษตรดาวรุ่งของไทยชนิดหนึ่ง เมื่อปี 2560 เคยขึ้นไปถึงลูกละ 30 บาท แม้ว่าจะลงมาบ้างแต่ก็ไม่ต่ำกว่าลูกละ 10 บาท กระทั่งราคาตกเหลือเพียงลูกละ 4-5 บาท เท่านั้น โดยพื้นที่แถว อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี ซึ่งเป็นหนึ่งในแหล่งปลูกมะพร้าวน้ำหอมแหล่งใหญ่นั้นจะมีล้งจีน ทั้งล้งของคนจีนเองและล้งไทยที่เป็นมือปืนให้กับล้งจีนอีกต่อหนึ่ง ซึ่งช่วงนั้นเรียกได้ว่าทุบตลาดกันปั่นป่วนมาก

คุณแดง มาประกอบ หรือ พี่แดง ชาวตำบลสามกระทาย อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ บัณฑิตแม่โจ้ และเป็นเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวน้ำหอม ซึ่งก่อนหน้านี้เรียกได้ว่าพี่แดงถือเป็นเซียนเรื่องการเกษตร ทำมาแล้วหลายแขนง ปลูกมาแล้วหลายชนิด ทั้งพืช

อายุสั้น ผลไม้ แตงโม แคนตาลูป แต่ต้องเลิกปลูกด้วยเหตุผลที่การปลูกพืชผลไม้ต้องใช้คนงานเยอะ และต้องมีเวลาเข้าสวนทุกวัน ไม่สามารถปลีกตัวไปทำอาชีพเสริมได้ จึงเริ่มลองมาศึกษาเรื่องการปลูกมะพร้าวน้ำหอม เพราะคิดว่ามะพร้าวน้ำหอมเป็นพืชที่ให้รายได้แน่นอน มีรายได้เข้ามาทุกเดือน คิดง่ายๆ ว่า

“เราเลี้ยงลูก ลูกโตไปโอกาสที่เขาจะกลับมาเลี้ยงดูเราก็ไม่แน่นอน เพราะเราบังคับไม่ได้ แต่ถ้าปลูกมะพร้าว มะพร้าวเลี้ยงเราได้แน่นอน จากที่พิสูจน์มา เพราะผมปลูกมะพร้าวเลี้ยงแม่มาตั้งแต่ ปี’34 มีรายได้เข้าทุกเดือน เดือนละเกือบ 20,000 บาท โดยไม่ต้องทำอะไร ถึงเวลาก็มีคนมาตัดถึงสวน” พี่แดง บอก

โจทย์สำคัญของเกษตรคือ ปลูกอะไร และขายใคร ซึ่ง “ตลาด” นั้นสำคัญมาก เมื่อถามถึงวิธีรับมือในช่วงที่มะพร้าว “ราคาตก” พี่แดงนั้นได้ให้แนวคิดที่น่าสนใจว่า

1. พอเพียงอย่างยั่งยืน คือทางออก
ขายแพง คนไทยไม่ได้ประโยชน์

เจ้าของสวนต้องมีความพอเพียง การปลูกมะพร้าวสามารถพอเพียงได้ เราพอใจแค่ไหน ก็เอาแค่นั้น อย่าไปเห่อตามกระแส มีการบริหารจัดการที่ดี ส่วนหนึ่งส่งขายที่โรงแรมแถวๆ ปราณบุรี ส่วนหนึ่งที่ส่งไม่หมด เพราะมะพร้าวที่สวนช่วงพีคสุด อยู่ที่ 5,000 ลูก ต่อเดือน ก็จะไปส่งที่แผง

“หมายความว่า คนที่จะมาต่อยอดสินค้าของเรา ก็จะมีลูกหลานนำไปต่อยอดต่อ ดังนั้น การทำเกษตรที่คิดว่าจะเอาราคาแพงอย่าไปคิด คิดแค่ว่าจะสามารถปลูกแล้วให้คนอื่นมาต่อยอด เราอยู่ได้ เขาอยู่ได้ และถือเป็นการช่วยกันสร้างอาชีพ เช่น ใครจะทำขนม หรือ

ทำวุ้น หรือขายข้างทาง ก็มาติดต่อเราได้ เราพอใจที่ตัวเลขกลมๆ อย่างที่สวนพอใจที่ลูกละ 10 บาท แล้วให้เข้ามาตัดเองที่สวน เจ้าของสวนรับเงินอย่างเดียว 10 บาท ส่งโรงแรม ลูกละ 15 บาท เราพอใจแค่นี้ เพราะถือว่ามีเงินเดือนกินแล้ว

สมมุติว่า มะพร้าว 5,000 ลูก ลูกละ 10 บาท ก็ 50,000 บาทแล้ว เงินเดือน 50,000 บาท เราไม่ต้องเหน็ดเหนื่อยทุกวัน เหนื่อยเฉพาะช่วง 3 ปีแรก 20 วัน ก็ตัดขายได้ใหม่ อย่าไปคิดว่า ขายจากสวน 20 บาท เพราะแบบนี้ไม่ยั่งยืน เพราะเมื่อไรที่ขายแพง คนไทยไม่ได้ประโยชน์ ส่งออกอย่างเดียว พอส่งออกไม่ได้ก็เกิดผลกระทบราคาตก” พี่แดง ขยายความ

2. มองตลาดให้กว้าง แนะนำลูกค้าให้เป็น
ต้องมองตลาดให้กว้าง และรู้จักแนะนำลูกค้า ตอนนี้สินค้าเพื่อสุขภาพกำลังมาแรง โรงแรมหลายแห่งต้องการมะพร้าวที่มีคุณภาพอีก

มาก ตลาดโรงแรมมีมานานแล้ว เพียงแต่ว่าไม่ได้มาเข้าถึงสวน คือมาตรฐานโรงแรมทั่วไปยังคิดผิด ที่ว่าสินค้าโรงแรมถ้าลูกนี้ไซซ์นี้ ก็คือต้องไซซ์นี้ ซึ่งหากเชฟของโรงแรมเข้ามาถึงสวน เจ้าของสวนต้องอธิบายว่า ถ้าคุณต้องการมะพร้าวจากสวน สวนจะกำหนดไม่ได้ว่ามะพร้าวไซซ์ที่ต้องการจะได้เท่ากันทุกลูก มันอาจจะมีสองไซซ์ถึงสามไซซ์

ดังนั้น ถ้าคุณจะเอาจากสวน จะกำหนดขนาดไซซ์ไม่ได้ แต่ถ้าคุณกำหนดปริมาณว่าคุณต้องการน้ำเท่านี้ เรากะได้เพียงแต่ว่าลูกเล็กอาจจะนับควบ ซึ่งเขาก็เข้าใจ ถือเป็นเทคนิคให้ทั้งผู้ซื้อ ผู้ขาย มาเจอกันและเข้าใจกันมากขึ้น อย่างโรงแรมแถวภูเก็ตชอบไซซ์ใหญ่

ไม่เอาไซซ์อื่น ซึ่งเขาไปเสียในสิ่งที่ไม่ควรเสีย ไปเสียให้คนคัดเกรดซะเยอะ ถามว่าถ้ามารับจากสวน 15 บาท กับไปซื้อที่พ่อค้าคนกลาง ลูกละ 38 บาท อันไหนคุ้มกว่ากัน

3. แปรรูป ยังเป็นทางออกที่ดี
มะพร้าว ถือเป็นพืชมหัศจรรย์ของโลก มีพืชไม่กี่ชนิดในโลกที่จะสามารถนำมาแปรรูปได้หลากหลาย หากปลูกมะพร้าวเป็นลูกไม่มีคนซื้อ เราสามารถเปลี่ยนเป็นน้ำตาลมะพร้าวได้ภายใน 5 วัน น้ำตาลมะพร้าวตอนนี้ราคากิโลกรัมละ 30 บาท ถ้ามะพร้าวที่สวน 15 ไร่

เราสามารถที่จะเคี่ยวน้ำตาลได้ 15 ปีบ ต่อวัน 1 ปีบ บรรจุ 20 กิโลกรัม ราคาอย่างน้อยก็ปีบละ 700 บาท แต่ต้องแลกกับค่าแรงงานที่ค่อนข้างเยอะ ถือว่าดีกว่าปล่อยให้ผลผลิตไร้ประโยชน์ หรือถ้าไม่อยากทำเป็นน้ำตาล ก็นำมาหมักทำน้ำส้มสายชู ดังนั้น เกษตรกรที่ปลูกมะพร้าวคุณสามารถไปได้หลายทางมาก

กรมอุตุนิยมวิทย คาด 20 เม.ย. เป็นวันที่ร้อนที่สุดในรอบปี ภาคเหนืออุณหภูมิแตะ 44 องศาเซลเซียส ส่วนกรุงเทพฯ และปริมณฑลพุ่งสูง 40 องศาเซลเซียส

อ.เถิน จ.ลำปาง คือพื้นที่ที่กรมอุตุนิยมวิทยาระบุว่าขณะนี้ร้อนที่สุดในประเทศ เมื่อวานนี้ที่นี่มีอุณหภูมิสูงสุด 44.2 องศาเซลเซียส ทำลายสถิติของอำเภอเถิน ซึ่งเคยบันทึกไว้ในอดีตว่าเคยร้อนสูงสุดที่ 43.8 องศาเซลเซียล แต่ก็ยังไม่ทำลายสถิติ จ.แม่ฮ่องสอน ซึ่งเคยเป็นจังหวัดที่ร้อนที่สุดเมื่อปี 2559 ที่ในขณะนั้นมีอุณหภูมิสูงถึง 44.6 องศาเซลเซียส

อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยาระบุว่า ภูมิประเทศของลำปางมีลักษณะเป็นแอ่งกระทะ มีภูเขาล้อมรอบ ไม่มีลมที่จะช่วยพัดความร้อนให้เบาบางลง ทำให้เกิดเป็นความร้อนสะสม โดยเฉพาะในเวลากลางวันจะร้อนที่สุด

กรมอุตุนิยมวิทยามีการคาดการณ์ว่า (วันนี้ 20 เมษายน) จะเป็นวันที่ร้อนที่สุดฤดูร้อนปีนี้ เพราะภาพจากดาวเทียมภาพนี้แสดงให้เห็นหย่อมความกดอากาศต่ำสีแดงปกคลุมอยู่ตั้งแต่พื้นที่ตอนบนและตอนกลางของประเทศ โดยเฉพาะภาคเหนือและอีสานตอนบนที่

เป็นสีแดงเข้ม ซึ่งมีโอกาสที่อุณหภูมิจะเพิ่มสูงกว่าเดิม 1-2 องศาเซลเซียส โดยสูงสุดจะอยู่ที่ในภาคเหนือ 44 องศาเซลเซียส เช่น พะเยา เชียงราย แพร่ น่าน ลำปาง อุตรดิตถ์ พิษณุโลก และนครสวรรค์ รองลงมาเป็นภาคอีสาน 42 องศาเซลเซียส เช่น เลย อุดรธานี

และหนองคาย ส่วนกรุงเทพฯ และปริมณฑล คาดการณ์ว่าอุณหภูมิจะพุ่งแตะ 40 องศาเซลเซียส โดยเฉพาะในพื้นที่ดอนเมืองและรังสิต ก่อนที่อุณหภูมิจะเริ่มลดลงในวันที่ 21 เมษายน

ปัจจัยที่ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นในช่วงหน้าร้อน นอกจากเกิดจากความกดอากาศต่ำแล้ว ยังขึ้นอยู่กับองศาของพระอาทิตย์ที่มีลักษณะ

ตั้งฉากกับโลก ประกอบกับบนท้องฟ้าไม่มีเมฆ จึงแผ่ความร้อนได้เต็มที่ อีกทั้งในช่วงหน้าร้อนกลางวันจะยาวกว่ากลางคืน อุณหภูมิจึงมีโอกาสในการไต่ระดับสูงขึ้น และสะสมความร้อน จนบางวันอุณหภูมิตั้งต้นในช่วงเช้าสูงถึง 30 องศาเซลเซียส เช่น จ.ปทุมธานี

กรมอุตุนิยมวิทยาประกาศไทยเข้าสู่หน้าร้อนเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ และจะสิ้นสุดกลางเดือนพฤษภาคม ก่อนหน้านี้มีการคาดการณ์ว่า อุณหภูมิสูงสุดจะอยู่ที่ 42-43 องศาเซลเซียส แต่ความเป็นจริงอุณหภูมิในเดือนเมษายนกลับพุ่งสูงแตะ 44 องศาเซสเซียล โดยกรมอุตุนิยมวิทยาคาดว่า อุณหภูมิจะเริ่มลดลงในช่วงปลายเดือนนี้ เพราะจะมีฝนตกลงมา ช่วยคลายความร้อน

อาหารสัตว์มีความสำคัญ และจำเป็นต่อการเจริญเติบโตและการดำรงชีวิตของสัตว์ อาหารของสัตว์อาจเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ หรือเกิดขึ้นจากการแปรรูปพืชและสัตว์ ในยามนี้ หากใครเลี้ยงสัตว์เชิงการค้า โดยอาศัยอาหารสัตว์ที่มีขายในท้องตลาดเป็นหลัก อาจมีภาระต้นทุนการผลิตสูง เพราะอาหารสัตว์ส่วนใหญ่มีราคาแพง

สำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงหมู หากใครสนใจอยากลดต้นทุนค่าอาหารสัตว์ ขอแนะนำสูตรอาหารสัตว์จากภูมิปัญญาชาวบ้านและงานวิจัย จำนวน 3 สูตร ที่ใช้วัตถุดิบที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นมาดัดแปลงเป็นอาหารสัตว์ ช่วยให้หมูเติบโตแข็งแรง และขายได้น้ำหนักดี

เทคนิคเลี้ยงหมูแบบชีวภาพ
คุณนรงค์ สุรธรรม อยู่บ้านเลขที่ 278 หมู่ที่ 1 บ้านอาฮี ตำบลอาฮี อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย เริ่มต้นเลี้ยงหมูหลุม แบบโบราณก่อนจะพัฒนาเป็น การเลี้ยงหมูแบบชีวภาพ เพื่อลดต้นทุนการเลี้ยง

คุณนรงค์ เลี้ยงหมูแบบชีวภาพ โดยนำอาหารวัตถุดิบที่หาง่ายในท้องถิ่น เช่น กล้วยดิบ มันสำปะหลัง มะละกอ ใบกระถิน มาใช้เลี้ยงหมูแล้ว ยังสามารถใช้เลี้ยงวัวและปลาได้อีกด้วย พบว่า หมูเจริญเติบโตดีมาก 5 เดือน ก็จับขายได้แล้ว

ข้อดีของการเลี้ยงหมูแบบชีวภาพก็คือ ลดต้นทุนโดยประหยัดค่าหัวอาหารได้ ประมาณ 70-80% โดยใช้วัตถุดิบที่มีในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ลดปัญหาการทำความสะอาดคอกบ่อยๆ คอกหมูไม่มีกลิ่นเหม็น สัตว์ที่เลี้ยงมีสุขภาพแข็งแรง จำหน่ายได้ราคาดี และยังได้ปุ๋ยแบบธรรมชาติจากมูลหมูไปใช้ประโยชน์ได้

การเลี้ยงหมูแบบชีวภาพให้ประสบความสำเร็จ จะต้องใช้หมูลูกผสมพันธุ์ดี เลี้ยงด้วยอาหารธรรมชาติ มีการจัดการฟาร์มที่ดี มีระบบป้องกันโรคที่ดี โรงเรือนถูกลักษณะ ควรตั้งอยู่ในพื้นที่เนิน น้ำท่วมไม่ถึง มีการระบายน้ำที่ดี อากาศถ่ายเทดี สร้างโรงเรือนตามแนวทิศตะวันออกและตะวันตก มีขนาดความกว้าง 3×3.50 เมตร สามารถเลี้ยงหมูได้ คอกละ 3-5 ตัว ไม่ราดซีเมนต์ แต่ใช้แกลบเทราดพื้นคอกเพื่อป้องกันไม่ให้พื้นแฉะ แกลบที่ผสมกับขี้หมู สามารถนำมาใช้เป็นปุ๋ยคอกได้อีก

อาหารที่เลี้ยงหมูแบบชีวภาพนั้น เน้นใช้วัตถุดิบที่หาง่ายในท้องถิ่น ได้แก่ กล้วยน้ำว้า มะละกอทั้งดิบทั้งสุก ผักสดต่างๆ มันสำปะหลังที่ตากแห้งแล้ว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทั้งฝักสดและแห้ง และใช้อาหารเสริมประเภทน้ำหมักชีวภาพ ที่หมักจากพืชชนิดต่างๆ ร่วมกับกากน้ำตาล นำมาผสมในอาหารสัตว์ที่นำไปใช้เลี้ยงหมู

การนำน้ำหมักชีวภาพมาผสมให้หมูกิน มีจุดเด่นสำคัญคือ เพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยอาหารที่สัตว์กินเข้าไป ทำให้สัตว์ได้รับธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์มากยิ่งขึ้น เพราะสัตว์ประเภทสัตว์ปีกและสุกร เป็นสัตว์กระเพาะเดียว ไม่สามารถย่อยพืชต่างๆ ได้ดีเท่าสัตว์เคี้ยวเอื้อง การจัดการอาหารสัตว์วิธีนี้ ช่วยประหยัดต้นทุนค่าอาหารได้ถึง 70%

สำหรับการเลี้ยงหมูแบบชีวภาพ เกษตรกรสามารถเลี้ยงหมูได้ ตั้งแต่ลูกหมูหย่านมเพื่อไม่ให้หมูสับสนในเรื่องการกิน จนเกิดเป็นนิสัยในเรื่องอาหารการกิน หากกินกล้วยดิบก็ให้กล้วยดิบไปตลอด โดยห้อยกล้วยดิบให้หมูกิน ตัวเล็กก็ห้อยต่ำหน่อยพอให้หมูแหงนกิน

ได้สะดวก ไม่ควรวางกับพื้นดิน ถ้าหมูตัวโตขึ้นก็จะขยับสูงขึ้นเป็นลำดับ นอกจากนั้น ควรกำหนดจุดให้อาหารแยกกัน เช่น น้ำ อาหาร กล้วย ควรจะอยู่คนละมุม ในบริเวณคอกเลี้ยงสัตว์ ควรโรยพื้นด้วยแกลบและราดด้วยน้ำหมักชีวภาพทำให้ไม่มีกลิ่นเหม็นในคอกเลี้ยงหมู

หากใช้มันสำปะหลังในสูตรอาหารชีวภาพที่นำมาเลี้ยงหมู มันสำปะหลัง ควรหั่นในลักษณะมันเส้น ผ่านการตากแดดให้แห้งสนิทก่อน เพื่อป้องกันการเกิดเชื้อรา หรือนำกล้วยดิบ มะละกอมาผสมให้หมูกิน ก่อนนำไปใช้งาน ควรหั่นกล้วยดิบและมะละกอเป็นชิ้นขนาดเล็กแล้วนำไปบดรวมกับมันสำปะหลังที่ตากแห้ง ใส่น้ำหมักชีวภาพลงไปคลุกเคล้าให้เข้ากันดีแล้ว จึงค่อยนำอาหารสัตว์ที่เตรียมไว้ไปให้หมู วัว เป็ด ไก่ และปลา

ผลการทดลองใช้อาหารสัตว์แบบชีวภาพ พบว่า หมูเติบโตไวขึ้น เกษตรกรสามารถนำหมูวัย 5 เดือน ออกขายได้แล้ว หมูมีน้ำหนักตัวดี สมบูรณ์แข็งแรง เนื้อหมูมีคุณภาพดี ตรงตามความต้องการของตลาด หากมีข้อสงสัยสอบถามเพิ่มเติมได้ ที่ สำนักงานเกษตรอำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย โทร. (042) 889-060

สำหรับเคล็ดลับที่สอง เป็นของผู้ใหญ่สงบ หาญกล้า เจ้าของศูนย์เครือข่ายเรียนรู้การเลี้ยงสัตว์อินทรีย์ ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง แห่งบ้านดอนตะหนิน 18 หมู่ที่ 5 ตำบลหนองค่าย อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา

คุณสงบ เลี้ยงหมูหลุม รุ่นละ 10 ตัว ระยะเวลาเลี้ยง 4-5 เดือน/รุ่น การเลี้ยงหมูหลุมลดรายจ่ายประหยัดมากกว่าการเลี้ยงหมูปกติ ไม่มีปัญหาเรื่องกลิ่นและน้ำเสียจากการล้างคอก เพราะอาหารที่ใช้เลี้ยงหมู จะเน้นพืชผักผสมกับปลายข้าวต้ม ผสมกับรำ หยวกกล้วย และผักโขม เพราะผักโขมมีธาตุเหล็ก ซัลเฟอร์ เบต้าแคโรทีน แมกนีเซียม และแคลเซียมสูง นำมาปรุงเป็นอาหารสำหรับคนหรือต้มเป็นอาหารเลี้ยงหมูก็มีคุณประโยชน์ไม่แพ้กัน

เคล็ดลับสุดท้ายที่นำมาฝากกัน คือ สูตรอาหารสัตว์จากงานวิจัย ของนักวิชาการมหาวิทยาลัยขอนแก่น ประกอบด้วย คุณพิณซอ กรมรัตนาพร ผศ. เสรี แข็งแอ และ ผศ.สาธิร พรตระกูลพิพัฒน์ ผลงานวิจัยชิ้นนี้ แนะนำให้เกษตรกรเลี้ยงหมูขุนด้วยพืชอาหารหมัก ได้แก่ ข้าวโพดต้นอ่อน ใบมันสำปะหลังที่ผ่านการตากแดด 1 แดด ยอดอ้อย หยวกกล้วย นำพืชเหล่านี้มาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ขนาด 0.5 เซนติเมตร

นำวัตถุดิบทั้งหมดมาหมักกับกากน้ำตาล เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ หลังจากนั้น นำอาหารสัตว์มาคลุกเคล้ากับรำ ปลายข้าว และหัวอาหารสุกร เมื่อนำอาหารสัตว์สูตรไปใช้เลี้ยงหมูขุนจะช่วยให้หมูขุนเจริญอาหาร เติบโตดี เพราะเป็นอาหารสัตว์ที่มีธาตุโปรตีนถึง

16% หากมีข้อสงสัยสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สถานีฟาร์มฝึกนักศึกษา คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น บ้านทรัพย์ไพศาล ตำบลหนองหญ้าปล้อง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย โทร. (042) 801-096

รมว.เกษตรฯ สั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำรวจความต้องการผลผลิตทุเรียนของทั้งตลาดในประเทศและตลาดโลก ห่วงประสบปัญหาเช่นเดียวกับยางพารา ที่เมื่อราคาดีจึงขยายการปลูกไปทั่วประเทศ ผลผลิตล้น จนราคาตกต่ำ

นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ได้รับรายงานจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ซึ่งร่วมกับสำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 (สสก.3) สำรวจข้อมูลไม้ผลภาคตะวันออก ในจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด

พยากรณ์สินค้า 4 ชนิดได้แก่ ทุเรียน มังคุด เงาะ และลองกอง ในพื้นที่ 3 จังหวัด คือ จันทบุรี ระยอง และตราดพบว่า ในปี 2562 พื้นที่ปลูกไม้ผลทั้ง 4 ชนิดมี 691,521 ไร่ เพิ่มขึ้นจากปี 2561 13,318 ไร่ หรือร้อยละ 1.96 โดยทุเรียนเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 4.57 เงาะ

เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.46 มังคุดลดลงร้อยละ 0.15 และลองกองลดลงร้อยละ 3.45 ซึ่งคาดการณ์ว่า ผลผลิตผลไม้ทั้ง 4 ชนิดจะมีปริมาณเพิ่มขึ้นเนื่องจากสภาพอากาศเอื้ออำนวยต้นมีเวลาพักสะสมอาหารนาน

นายกฤษฏากล่าวต่อว่า ทุเรียนซึ่งได้ชื่อว่า เป็น “ราชาแห่งผลไม้” เฉพาะในภาคตะวันออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.49 ใน 2 ปีนี้ราคาดี ขายจากสวนเฉลี่ยกิโลกรัมละกว่า 100 บาท เกษตรกรโค่นไม้ผลอื่นเพื่อปลูกทุเรียนทั่วประเทศ อีกประมาณ 4 -5 ปีข้างหน้า ทุเรียนที่

ปลูกใหม่จะให้ผลผลิตจึงสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำรวจความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงสำรวจพื้นที่ปลูกจริงในปัจจุบัน เนื่องจากเกรงว่า จะประสบปัญหาเดียวกับยางพาราซึ่งหลายปีก่อน ราคาสูงขึ้นถึงกิโลกรัมละ 100 กว่าบาท เกษตรกรขยายการปลูกจากเดิมที่มีเฉพาะภาคใต้ กระจายไปทุกภาค จนผลผลิตล้นตลาด ทำให้ราคาตกต่ำต่อเนื่อง

“จะนำผลการสำรวจความต้องการของตลาดและพื้นที่ปลูกทุเรียนทั้งที่ให้ผลผลิตแล้วและจะให้ผลผลิตในอนาคตมาวางแผนการผลิต คำนวณว่า ผลผลิตทุเรียนต่อปีควรมีเท่าไร เพื่อกำหนดโควตาการปลูกให้เหมาะสม หากคาดการณ์ได้ว่า พื้นที่ปลูกสมดุลกับ

ความต้องการของตลาดแล้ว จะส่งเสริมปลูกไม้เศรษฐกิจอื่น ทั้งนี้กระทรวงเกษตรฯ จะจัดทำระบบฐานข้อมูลเกษตรกรรม (Agriculture Big Data) เพื่อใช้วางแผนการผลิตภาคเกษตรกรรมทุกชนิด” นายกฤษฎากล่าว

นายกฤษฎากล่าวเพิ่มเติมว่า ในปีนี้ได้กำชับให้ทุกหน่วยงานส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตทุเรียนคุณภาพ รณรงค์ไม่ตัดทุเรียนอ่อนขาย หาตลาดให้เกษตรกรและกลุ่มเกษตรกรเช่น สหกรณ์การเกษตรในจังหวัดจันทบุรีได้ลงนามข้อตกลงจำหน่ายทุเรียนซึ่งได้รับการรับรองการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี มาตรฐาน GAP แก่กลุ่มห้างสรรพสินค้าสมัยใหม่ (Modern Trade) หลายแห่ง รวมถึงส่งเสริม

การทำตลาดแบบออนไลน์ สั่งจองล่วงหน้า แล้วส่งให้ผู้บริโภคโดยตรง จึงทำให้เกษตรกรขายทุเรียนได้ราคาดี ซึ่งได้สั่งการให้นำแนวทางนี้ไปดำเนินการกับไม้ผลอื่นๆ เพื่อให้เกิดผลเช่นเดียวกัน

“มะละกอฮอลแลนด์” เป็นไม้ผลยอดฮิต ที่ผู้คนบริโภคนิยมรับประทาน เพราะมีเนื้อแน่น รสชาติหวาน หอม อร่อย มะละกอเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพ ที่มีสรรพคุณทางยาที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ มะละกอฮอลแลนด์ เป็นไม้ผลที่น่าปลูกอย่างมาก เพราะให้ผลตอบแทนสูง ในระยะเวลาอันรวดเร็ว

คุณอมรเทพ (ต้อม) เสือสังโฆ วัย 35 ปี และภรรยา ชื่อ คุณศิริวรรณ (ผึ้ง) เสือสังโฆ วัย 33 ปี เจ้าของกิจการสวนมะละกอ “คีโม สไมล์ ฟาร์ม” เป็นหนึ่งในเกษตรกรตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จในเส้นทางอาชีพการทำสวนมะละกอ สร้างรายได้ที่มั่นคงและมีฐานะ

ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ได้ที่ดินได้บ้านได้รถ มีเงินทองจับจ่ายใช้สอย มาจากอาชีพการทำสวนมะละกอตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมาทั้งสิ้น ปัจจุบันพวกเขามีรายได้จากการขายมะละกอฮอลแลนด์ไม่ต่ำกว่า 25,000-38,000 บาท/สัปดาห์ ทีเดียว

คุณอมรเทพ เสือสังโฆ หรือ คุณต้อม เจ้าของสวนคีโม สไมล์ ฟาร์ม เล่าให้ฟังว่า เขาเกิดและเติบโตในครอบครัวชาวนา จังหวัดอ่างทอง เรียนจบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ด้านอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต เคยทำงาน บริษัท ฮอนด้า

แถวอยุธยา ได้เพียงปีเศษ ต่อมาแต่งงานกับภรรยา “คุณผึ้ง” ซึ่งเป็นสาวเมืองสุพรรณบุรี เขาจึงย้ายมาตั้งถิ่นฐานที่สุพรรณบุรี ระยะแรกเขาไปช่วยพ่อตาดูแลสวนมะละกอที่ปลูกแซมอยู่ในสวนส้มโออยู่นานปี ได้รับการถ่ายทอดความรู้เรื่องการดูแลจัดการสวนมะละกอจนชำนาญ

คุณต้อม มั่นใจว่า มะละกอฮอลแลนด์ เป็นไม้ผลที่มีโอกาสเติบโตทางการตลาดและสร้างผลกำไรที่ดี เขาตัดสินใจฝากอนาคตกับกิจการสวนมะละกอ โดยนำเงินทุนก้อนสุดท้ายของเขา ประมาณ 60,000-70,000 บาท มาเช่าที่ดินเพื่อปลูกมะละกอในอำเภอเมือง

สุพรรณบุรี แบ่งเงินทุนซื้อยาและปุ๋ยเคมีบำรุงต้นมะละกอทุกเดือน ผ่านไป 6-7 เดือน ต้นมะละกอเริ่มมีผลผลิตออกขาย ทำให้มีเงินรายได้ไหลเข้ากระเป๋า 20,000-30,000 บาท ทุกๆ 3 วัน

เมื่อ 10 ปีก่อน มะละกอฮอลแลนด์ขายได้ราคาดีมาก คุณต้อมจึงชวนเพื่อนบ้านมาปลูกมะละกอฮอลแลนด์ ต่อมาถูกพ่อค้าทิ้ง ไม่มารับซื้อผลผลิต คุณต้อมจึงรวบรวมผลผลิตของตัวเองและเพื่อนเกษตรกรไปขายที่ตลาดไท ทำให้หมดปัญหาเรื่องตลาด